น้ำมันพืชส่วนใหญ่ที่ใช้งานเพื่อเป็นแนวนเหลวของหม้อแปลงนั้นจะมีมีความหนืดและจุดไหลเทที่เหมาะสม เพื่อจุดประสงค์ในการระบายความร้อน น้ำมันพืชที่มีความหนืดต่ำ(สามารถไหลได้ง่าย)จะประกอบด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ โอเลอิก (พันธะคู่ C=C 1 พันธะ) ลิโนเลอิก (พันธะคู่ C=C 2 พันธะ) และไลโนเลนิก (พันธะคู่ C=C 3 พันธะ) น้ำมันถั่วเหลืองที่ถูกนำมาใช้งานสำหรับเป็นฉนวนหม้อแปลงนั้นได้รับการคัดเลือกจากน้ำมันพืช 40 ชนิดผสมกันในระหว่างการพัฒนา FR3® Fluid เพื่อให้ได้คุณสมบัติตามต้องการ
แม้ว่าน้ำมันปาล์มมีจำหน่ายอย่างแพร่หลายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่โดยทั่วไปถือว่าไม่เหมาะที่จะใช้ในของเหลวไดอิเล็กตริกเอสเทอร์ตามธรรมชาติ เนื่องจากน้ำมันปาล์มมีปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวสูง (ประมาณ 44% ของกรดปาล์มมิติก) ด้วยคุณสมบัตินี้เองทำให้น้ำมันปาล์มมีจุดหลอมเหลวสูงระหว่าง 30°C ถึง 40°C ถึงแม้น้ำมันปาล์มนี้สามารถลดจุดไหลเทได้อย่างมากผ่านการแยกส่วนหลายครั้งทางด้านโครงสร้างนองน้ำมัน แต่น้ำมันปาล์มที่ผ่านกระบวนการนี้จะลดปริมาณน้ำมันลงอย่างมากและเพิ่มพลังงานและค่าใช้จายที่ต้องใช้ในกระบวนการแยก ทำให้มีความยั่งยืนทางเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมน้อยกว่าฉนวนเหลว FR3.
ที่สำคัญกว่านั้น แม้หลังจากกระบวนการแยกส่วนสองครั้ง จุดเทของซุปเปอร์ปาล์มโอเลอีน (ผลผลิตประมาณ 44% จากน้ำมันปาล์ม RBD) จะสามารถปีับปรุงได้แค่ 3°C เท่านั้น ซึ่งยังคงสูงกว่าข้อกำหนดของของเหลวไดอิเล็กตริกเอสเทอร์ธรรมชาติที่กำหนดโดยสากลอย่างมีนัยสำคัญ เช่น IEC 62770 และ ASTM D6871 (-10°C max) ดังนั้นซุปเปอร์ปาล์มโอเลอีนจะไม่ได้รับประโยชน์จากมาตรฐานอื่นๆ ในการบำรุงรักษา การทดสอบ ฯลฯ
แม้ว่าจะมีของเหลวไดอิเล็กตริกในท้องตลาดที่อ้างว่ามาจากน้ำมันปาล์มจากการกลั่น แต่จริงๆ แล้วเป็นmethyl ester โดยใช้กรดไขมันที่ได้จากน้ำมันปาล์ม แทนที่จะเป็นน้ำมันปาล์ม (ไตรกลีเซอไรด์) ในรูปแบบธรรมชาติ นอกเหนือจากความต้องการพลังงานสูง ในการผลิตเมทิลเอสเทอร์ดังกล่าว (ซึ่งทำให้Caron footprint ของมันแย่กว่าเอสเทอร์ธรรมชาติทั่วไปมาก) จุดวาบไฟและจุดติดไฟของของฉนวนเหลวจากน้ำมันปาล์มดังกล่าวก็ต่ำกว่ามากเช่นกัน (คล้ายกับน้ำมันแร่ หรือ mineral oil ทั่วไป) ดังนั้นจึงมีไม่มีประโยชน์ในแง่ของความปลอดภัยจากอัคคีภัย.
โดยสรุป จากมุมมองทางเทคนิค เป็นไปได้น้อยมากที่การแยกส่วนหรืออนุพันธ์ของน้ำมันปาล์มจะเป็นตัวเลือกที่ใช้น้ำมันปาล์มเพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับของเหลวอิเล็กทริกเอสเทอร์ธรรมชาติที่ใช้ในหม้อแปลงไฟฟ้า
จะต้องมีการกำหนดมาตรฐานอะไรบ้างสำหรับน้ำมันปาล์มเพื่อใช้เป็นของไหลฉนวนในหม้อแปลงไฟฟ้า
อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในงานไฟฟ้าแรงสูงจำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานในการรองรับ เพื่อตรวจรับ, การซ่อมบำรุง, การทดสอบก่อนและหลังใช้งาน หรือ ตลอดจนการประเมินสภาพของอุปกรณ์ หม้อแปลงไฟฟ้าก็เช่นเดียวกัน
ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น เนื่องจากซุปเปอร์ปาล์มโอเลอีนจะไม่ถูกพิจารณาว่าเป็นเอสเทอร์ธรรมชาติ จึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานในตัวมันเองเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบวิธีจัดการกับของน้ำมันปาล์มที่เป็นฉนวนใหม่นี้ มาตรฐานดังต่อไปนี้
มาตรฐานน้ำมันใหม่ เช่น ไออีซี 62770
การใช้งานและการบำรุงรักษา เช่น IEC 62975
หม้อแปลง เช่น IEC 60076-14
ก๊าซที่ละลาย เช่น IEEE C57.155
มาตรฐานเหล่านี้ต้องการประสบการณ์ 5 ถึง 10 ปี และอาจต้องใช้เวลาอีก 3-4 ปีในคณะกรรมการทำงานระดับสากลจะร่างและตีพิมพ์ออกมา ซึ่งขึ้นอยู่กับข้อมูลอ้างอิง กลุ่มตัวอย่างการใช้งานที่แพร่หลาย ในขณะเดียวกันผู้ปฏิบัติงานจะต้องทำการประเมินความเสี่ยงด้วยตัวเอง